พระพุทธรูปและดวงตาแห่งพุทธธรรม
สายธรรม ที่อ่อนช้อย พลิ้วไสว ทั้งสาม
ในการเผยแผ่ธรรมะสู่ประชาชน
“พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน” นี้นับเป็นพระไตรปิฎกย่อฉบับแรกของโลก เพราะการย่อความพระไตรปิฎกบาลี 45 เล่ม ให้คงเหลือเล่มเดียว
ดังที่ท่านอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ได้จัดทำขึ้นนี้ไม่เคยมีใครจัดทำมาก่อน ด้วยความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะช่วยให้พุทธศาสนิกชนได้เรียนรู้ศึกษาพระไตรปิฎก และเข้าถึงพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง ชัดเจน เป็นสิ่งที่ทุกคนสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ ทั้งจะได้รับประโยชน์จากพระไตรปิฎกมหาศาล
รายละเอียดสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จเป็นประธานในพิธีสมโภชพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ฉบับวาระ 100 ปี ชาตกาล อาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ และทรงเปิดนิทรรศการประวัติและผลงานอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ
การรักษาพระไตรปิฎก ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ และการดำเนินงานเผยแผ่ ให้เข้าถึงมหาชนได้อย่างกว้างขวาง จึงเป็นภารกิจสำคัญ สำหรับผู้ปรารถนาให้พระสัทธรรมตั้งมั่น และแพร่หลายสืบไป
จัดการศึกษาเรียนรู้เรื่องความเป็นมาของพระไตรปิฎก ระบบการสืบทอด ความสำคัญ และเนื้อหา สาระ ผ่านนิทรรศการ หรือการจัดการศึกษาในรูปแบบที่ทันสมัยต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย และความสนใจของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเยาวชนในยุคปัจจุบัน
ในประเทศไทย ได้ปรากฎมีบันทึกพระพุทธวจนะ หรือพระไตรปิฎก จารลงบนใบลาน สมุดข่อย หรือสมุดไทย และถือเป็นคัมภีร์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์เช่นเดียวกับพระพุทธรูป แต่กาลเวลาที่ล่วงเลยมายาวนาน สภาพภูมิอากาศในเขตร้อนชื้น รวมถึงการขาดความรู้ในอักขระโบราณที่ใช้ในการบันทึก จึงเป็นกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเสื่อมสลายของสื่อบันทึกยุคโบราณนี้
คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลาน ซึ่งเก็บรักษาไว้ตามวัดวาอาราม อาทิ ภายในหอพระไตรปิฎก ห้องสมุดบ้าง โบสถ์วิหาร หรือตามกุฏิริฐานต่างๆ นี้ มิได้เป็นสื่อที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในยุคปัจจุบัน แต่ยังทรงคุณค่าควรแก่เก็บรักษาไว้ในรูปแบบสื่อดิจิทัล และทำการจัดหมวดหมู่ให้เป็นระบบ เพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าอ้างอิงได้อย่างกว้างขวางต่อไป
รายละเอียดการสำรวจได้พบว่า มีพระคัมภีร์ที่สามารถระบุยุคและปีที่สร้าง ย้อนกลับไปถึง พ.ศ. 2166 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมแห่งกรุงศรีอยุธยา จึงมีความน่าสนใจ และเป็นหลักฐานสำคัญต่อการค้นคว้าในทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง
เอกสารโบราณเหล่านี้บ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีต ซึ่งวัดเป็นศูนย์กลางของการศึกษาเป็นแหล่งรวบรวมศิลปวิทยาการต่าง ๆ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของพระภิกษุสามเณรและชุมชน
เว็บไซต์เผยแพร่ฐานข้อมูลภาพบันทึกคัมภีร์โบราณ ให้บริการแก่ผู้ที่สนใจทั่วไปได้ศึกษา ค้นคว้า เพื่อเอื้อประโยชน์จากการเข้าถึง นำไปใช้ได้สะดวก รวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา เผยเพร่ได้ทั่วโลก
หนังสือคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หนึ่ง ในพุทธศาสนานิกายเถรวาท ซึ่งได้รับการจัดลำดับความสำคัญเทียบเท่าชั้นอรรถกถา
โดยมี พระพุทธโฆสะ ชาวอินเดีย เป็นผู้เรียบเรียงขึ้นในภาษาบาลี เมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 10 มีเนื้อหาที่อธิบายเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ และปัญญา ตามแนววิสุทธิ 7
รายละเอียดมูลนิธิพระไตรปิฏกเพื่อประชาชน ร่วมกับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ขอเชิญนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์ที่วางหนังสือพระไตรปิฎก
รายละเอียดการจัดนิทรรศการเป็นการแสดงสื่อผสมผสานต่าง ๆ เพื่อสร้างความสนใจต่อการทัศนาศึกษาต่อสาธารณชน เป็นโอกาสแห่งเรียนรู้ และร่วมกิจกรรม ทำให้ได้รับทั้งคุณค่า ความรู้ และความบันเทิง เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการเผยแพร่สารธรรมทางพุทธศาสนา
แสดงชีวประวัติของอาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพ ผู้ริเริ่ม “พระไตรปิฎกฉบับประชาชน” ได้อุทิศตนเพื่องานเผยแผ่พระสัทธรรมมาตลอดชีวิต เพื่อหวนคำนึงถึงคุณูปการของท่านในแบบอย่างที่ควรเจริญรอยตาม
การออกแบบกล่องพระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปกร วังท่าพระ วันที่ 18 - 23 กุมภาพันธ์ 2563
การเชื่อมโยง และออกแบบการเรียนรู้ไปทีละลำดับ โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้คู่ไป กับความสนุกในบทเรียนตามหลักสูตรของโรงเรียน